วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการเลือกชุดทำงานที่เหมาะสมกรณีที่ไม่มีชุดยูนิฟอร์ม

ในการเลือกเสื้อผ้าชุดไปทำงานจะต้องพิจารณาหลักใหญ่ๆ 3 ข้อ ได้แก่
1. สไตส์การแต่งกาย
 หากไม่มีกฎเกณฑ์บังคับเคร่งครัด สามารถเลือกเสื้อสูทกับกางเกงคนละสีได้แต่ถ้าหน่วยงานนั้นมีกฎเกณฑ์ให้ใช้สูทกับกางเกงสีเดียวกัน เสื้อตัวในใช้สีอ่อนและควรจะเป็นโทนสีเย็น
 เสื้อเชิ้ต และเสื้อครึ่งท่อนสำหรับผู้หญิงที่เป็นชุดทำงานควรจะเป็นแบบเรียบๆ ไม่สมควรประดับลูกไม้จนรุงรังหรือติดระบายจนรู้สึกรุ่มร่าม ผู้หญิงควรเลือกเสื้อแขนยาวเป็นหลัก และหลีกเลี่ยงเสื้อคอคว้านลึก ผู้ชายควรจะเลือกเสื้อเชิ้ตที่ไม่เน้นลำตัว เสื้อเชิ้ตควรเป็นเสื้อแขนยาวเสมอสิ่งที่ไม่เหมาะใช้ในที่ทำงานคือเสื้อยืดรัดรูป (สตรี) หรือสเวตเตอร์ ไม่เหมาะสมจะเป็นชุดใส่ไปทำงาน เพราะเสื้อยืดรัดรูปจะเน้นสัดส่วนเรือนกายให้เด่นชัด หากจะนำมาใช้กับชุดทำงานจะต้องมีสูทใส่ทับอีกชั้น
กางเกง ผู้หญิงไม่ควรจะสวมกางเกงไปทำงาน ( เว้นแต่กรณีอากาศหนาว หรือในบริษัทไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ ) คุณอาจจะรวมกางเกงไว้กับเสื้อผ้าทำงานชุดหลักก็ได้

2.ความประณีตในการตัดเย็บเสื้อผ้า

ความประณีตในการตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีคุณภาพนั้น จะต้องคงรูปตามเดิมอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี จะสังเกตเห็นฝีมือและความประณีตในการเย็บเสื้อผ้าได้จากสิ่งเหล่านี้ เช่น
 1. ปกและคอเสื้อ ควรจะตั้งขึ้น พับลงหรือติดแนบกับตัวเสื้อตามแบบที่ผู้ออกแบบกำหนดและเมื่อผ่านการซักรีดเพียงครั้งหรือสองครั้ง ปกและคอเสื้อไม่ควรเสียงรูปทรง ควรตรวจดูว่าของตะเข็บของปกเสื้อได้เย็บซ่อนไว้อย่างเรียบร้อย
 2. แผ่นรองซับในควรจะทำด้วยวัสดุที่คงรูปร่างได้ดี เมื่อลองใช้มือขยำเสื้อดู แผ่นรองซับในที่ทำด้วยวัสดุที่ดีก็ควรจะคืนรูปได้ดังเดิมทันที
 3. ซิปและรังดุม ควรตรวจดูว่าไม่มีรอยย่นตามขอบซิป ไม่จำเป็นต้องสนใจกระดุมมากนักเพราะส่วนใหญ่เราจะดึงออกและติดเม็ดใหม่แทน แต่ที่รังดุมควรจะดูให้ดีว่าเย็บไว้เรียบร้อยดีหรือไม่ รังดุมที่เย็บไว้รุ่ยร่าย ทำให้เสื้อผ้าดูไม่มีราคา
 4. สำหรับเสื้อสูท ควรตรวจดูความเรียบร้อยของซับใน และดูว่าแผ่นรองซับในตรงบริเวณรอยต่อแขนเสื้อซึ่งช่วยไม่ให้ซับในบริเวณนั้นขาดง่าย
 5. กระโปรงควรจะมีซับใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระโปรงที่มีเนื้อผ้าที่อาจจะเสียรูปทรงได้ง่าย เช่น กระโปรงถัก กระโปรงที่ตัดเย็บอย่างดีควรจะมีซับในแยกต่างหากเย็บติดอยู่ด้านใน
 6. ควรตรวจดูตะเข็บว่าแข็งแรงพอที่จะไม่ปริแตกง่ายเวลาสวมใส่ และตะเข็บควรจะเป็นตะเข็บคู่ เพื่อกันไม่ให้รอยเย็บหลุดลุ่ยได้ง่าย
 7. ถ้าใช้ผ้าลาย ควรตรวจดูให้แน่ว่า ลายผ้าต่อกันพอดีตรงรอยตะเข็บ
 8. เลือกเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าเนื้อดีที่สุดเท่าที่คุณจะมีกำลังซื้อได้ จะพูดถึงเรื่องเนื้อผ้าโดยละเอียดอีกครั้ง


3. การเลือกเสื้อผ้าให้รับกับเรือนร่าง


          อ้างอิง http://industrialclothingdesign.com/basic%20de%207Blank.html
 เสื้อผ้าซึ่งตัดเย็บอย่างประณีตแล้วจะไม่มีประโยชน์อันใดหากไม่รับกับเรือนร่างได้อย่างเหมาะเจาะถึงจะเลือกซื้อเสื้อผ้ายี่ห้อดีขนาดไหน แต่ถ้าหลวมหรือคับเกินไปก็จะไม่ช่วยให้ภาพพจน์เด่นขึ้น ขนาดของเสื้อผ้าของแต่ละยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่างแบบกัน ขนาดก็อาจจะต่างกันไปด้วย ฉะนั้น เมื่อจะเลือกซื้อเสื้อผ้าจะต้องลองสวมก่อนเสมอ
 ในการลองเสื้อผ้า นอกจากจะดูว่าขนาดพอดีกับตัวแล้ว ก็ต้องดูว่าเสื้อผ้านั้นสวมใส่สบายหรือไม่ โดยลองนั่ง ลุก ยืน และเดินไปมา ในขณะเดียวกันก็ตรวจดูคอเสื้อ ไหล่ เอว ความยาวของเสื้อ รอยต่อแขน แขนเสื้อ และความยาวของกระโปรง หรือขากางเกง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น