การเดินเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ถือเป็นกิจวัตรประจำวันสำหรับทุกคน เป็นของขวัญจากธรรมชาติที่สร้างชีวิตชีวาได้ไม่น้อย แต่น่าสงสัยไหมล่ะว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ยังเดินกันไม่ค่อยจะถูกต้อง แม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรมากมาย แต่มันกลับทำให้เสียบุคลิกภาพได้ง่ายๆ เหมือนกัน
ลองสังเกตดูว่า คนทั่วไปที่เดินอยู่บนท้องถนนส่วนใหญ่น่ะเขาเดินกันอย่างไร น้อยคนนักที่จะเดินด้วยท่วงท่าสง่าผ่าเผยส่วนใหญ่มักเดินแบบเหี่ยวๆ ไม่หลังค่อม ก็ห่อไหล่ เสียบุคลิกภาพกันไปหมด ท่าเดินที่ถูกต้องนั้น ตัวคุณจะต้องตรงเหมือนไม้กระดาน นั่นคือ ทั้งหัวไหล่ สะโพก ขา และส้นเท้าจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันราวกับยืนแนบอยู่บนผนัง นอกจากนั้นแล้วยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก...
จัดท่าทางให้ถูกต้องลองสังเกตดูว่า คนทั่วไปที่เดินอยู่บนท้องถนนส่วนใหญ่น่ะเขาเดินกันอย่างไร น้อยคนนักที่จะเดินด้วยท่วงท่าสง่าผ่าเผยส่วนใหญ่มักเดินแบบเหี่ยวๆ ไม่หลังค่อม ก็ห่อไหล่ เสียบุคลิกภาพกันไปหมด ท่าเดินที่ถูกต้องนั้น ตัวคุณจะต้องตรงเหมือนไม้กระดาน นั่นคือ ทั้งหัวไหล่ สะโพก ขา และส้นเท้าจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันราวกับยืนแนบอยู่บนผนัง นอกจากนั้นแล้วยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก...
เริ่มที่ตั้งศีรษะให้ตรง ไม่โยกไปมาตามการก้าวขาหรือแกว่งแขน ตามองตรงไปข้างหน้า ปล่อยไหล่ทั้งสองข้างสบายๆ ไม่ลู่ไปตามลม และไม่ต้องเกร็งแบบทหาร แต่ให้ยึดอกสักเล็กน้อย เพื่อยกกระดูกซี่โครงและเพิ่มพื้นที่ให้ปอดได้หายใจเต็มที่ เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย แล้วตั้งสะโพกให้ตรงกับลำตัว
แกว่งแขนให้สมดุล
หลายคนมักเดินกอดอกเหมือนแบกความทุกข์เอาไว้ไม่ก็เดินเอามือใส่ไว้ในกระเป๋า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อห้ามของการเดินให้ถูกวิธี เพราะจะทำให้การเคลื่อนไหวของมือทั้งซ้ายและขวาดูไม่เป็นธรรมชาติ การเดินที่ถูกต้อง ควรแกว่งแขนสลับกันซ้าย-ขวา เพื่อให้เกิดความสมดุล เมื่อก้าวเท้าซ้ายให้แกว่งแขนขวาไปข้างหน้า แกว่งแขนซ้ายไปด้านหลัง เมื่อก้าวเท้าขวาให้แกว่งแขนขวาไปด้านหลังและแกว่งแขนซ้ายไปข้างหน้า เวลาแกว่ง แขนจะต้องเป็นเส้นตรงข้างลำตัวไม่กางออกหรือชิดลำตัวเกินไปการวางเท้า
แต่ละย่างก้าว ควรกะระยะประมาณเท่ากับความกว้างของไหล่ เวลาลงเทา ให้ใช้ส้นเท้าเป็นส่วนแรกในการสัมผัสพื้น โดยวางเท้าลงกับพื้นตรงๆ อย่าไขว้ไปมาให้มากเกินงาม อีกจุดที่ควรให้ความสำคัญคือ จังหวะในการก้าวเท้าต้องสัมพันธ์กับการยกหรือบิดสะโพกด้วย คือ ก้าวเท้าข้างไหน สะโพกก็ควรบิดตามไปด้วย อย่าไปกลัวคนอื่นจะมองว่าเดินโอเวอร์ เพราะการทำเช่นนี้นอกจากจะดูสวยแล้ว ยังช่วยบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกไปในตัวอีกด้วยความเร็วในการเดิน
บางคนอ้างว่าเดินเร็วไปเดี๋ยวเหนื่อย จริงๆ แล้วการเดิน (ค่อนข้าง) เร็วเป็นการฝึกกล้ามเนื้อหัวใจอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจแข็ง โดยอัตราเฉลี่ยจากการวิจัยถึงความเร็วที่เหมาะสมคือ ประมาณนาทีละ 70 เมตร สำหรับการเดินเร็ว และนาทีละ 180 เมตร สำหรับการเดินเพื่อสุขภาพ
หลายคนมักเดินกอดอกเหมือนแบกความทุกข์เอาไว้ไม่ก็เดินเอามือใส่ไว้ในกระเป๋า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อห้ามของการเดินให้ถูกวิธี เพราะจะทำให้การเคลื่อนไหวของมือทั้งซ้ายและขวาดูไม่เป็นธรรมชาติ การเดินที่ถูกต้อง ควรแกว่งแขนสลับกันซ้าย-ขวา เพื่อให้เกิดความสมดุล เมื่อก้าวเท้าซ้ายให้แกว่งแขนขวาไปข้างหน้า แกว่งแขนซ้ายไปด้านหลัง เมื่อก้าวเท้าขวาให้แกว่งแขนขวาไปด้านหลังและแกว่งแขนซ้ายไปข้างหน้า เวลาแกว่ง แขนจะต้องเป็นเส้นตรงข้างลำตัวไม่กางออกหรือชิดลำตัวเกินไปการวางเท้า
แต่ละย่างก้าว ควรกะระยะประมาณเท่ากับความกว้างของไหล่ เวลาลงเทา ให้ใช้ส้นเท้าเป็นส่วนแรกในการสัมผัสพื้น โดยวางเท้าลงกับพื้นตรงๆ อย่าไขว้ไปมาให้มากเกินงาม อีกจุดที่ควรให้ความสำคัญคือ จังหวะในการก้าวเท้าต้องสัมพันธ์กับการยกหรือบิดสะโพกด้วย คือ ก้าวเท้าข้างไหน สะโพกก็ควรบิดตามไปด้วย อย่าไปกลัวคนอื่นจะมองว่าเดินโอเวอร์ เพราะการทำเช่นนี้นอกจากจะดูสวยแล้ว ยังช่วยบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกไปในตัวอีกด้วยความเร็วในการเดิน
บางคนอ้างว่าเดินเร็วไปเดี๋ยวเหนื่อย จริงๆ แล้วการเดิน (ค่อนข้าง) เร็วเป็นการฝึกกล้ามเนื้อหัวใจอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจแข็ง โดยอัตราเฉลี่ยจากการวิจัยถึงความเร็วที่เหมาะสมคือ ประมาณนาทีละ 70 เมตร สำหรับการเดินเร็ว และนาทีละ 180 เมตร สำหรับการเดินเพื่อสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น